พิธีทางศาสนาของบาไฮ
การทำพิธีทางศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่สูงส่งหรือศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือมนุษย์ ซึ่งผู้ทำหรือเข้าร่วมพิธีต้องการสื่อไปถึงเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ด้วยความเชื่อของศาสนิก ชนในแต่ละศาสนาหรือแต่ละกลุ่มแต่ละนิกาย มีความหลากหลายและแตกต่างกัน พิธีทางศาสนาที่ถือปฏิบัติกันมาจึงมีความหลากหลายแตกต่างกันเช่นกัน ซึ่งมีส่วนไม่น้อยมาจากการแต่งเติม และมักกลายเป็นพิธีที่ซับซ้อนไปด้วยขั้นตอนและรายละเอียดมากมาย จนอาจกลายเป็นที่เบื่อหน่าย หรือไม่ก็ทำให้ผู้ร่วมพิธีมัวแต่พะวงอยู่กับขั้นตอนรายละเอียด จนอาจทำให้จุดประสงค์ของการทำพิธีลืมเลือนไป ?และอาจค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นความงมงาย เช่น บางคนไปทำบาปอะไรมาแล้วก็มาทำพิธีกรรมทางศาสนาโดยเชื่อว่าทำแล้วจะช่วยไถ่บาปนั้นได้ หรือทำพิธีกรรมบางอย่างแล้วจะช่วยให้ตนมีโชคลาภวาสนา
ศาสนาบาไฮไม่มีพิธีกรรมตามที่กล่าวมาในย่อหน้าข้างบนนี้ แต่มีพิธีที่เรียบง่ายตามกฏเกณฑ์ ?เงื่อนไข และหลักการบางอย่างที่พระศาสดากำหนดไว้ให้บาไฮศาสนิกชนปฏิบัติเพื่อเป็นสัญลักษณ์และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเปิดให้มีความยืดหยุ่น และปรามมิให้ทำพิธีที่เรียบง่ายเหล่านี้ให้กลายเป็นพิธีที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังที่สภายุติธรรมสากลชี้แจงไว้ว่า
…ศาสนาบาไฮมีกฎพื้นฐานและพิธีที่เรียบง่ายจำนวนหนึ่งที่พระบาฮาอุลลาห์บัญญัติไว้ และคำสอนบาไฮเตือนไว้ว่าอย่าทำให้พิธีที่เรียบง่ายเหล่านี้กลายเป็นแบบแผนหรือพิธีที่ตายตัว โดยเติมรูปแบบหรือวิธีปฏิบัติที่มนุษย์คิดขึ้นมาเอง พิธีกรรมในศาสนาอื่นมักประกอบด้วยพิธีปฏิบัติที่มีรายละเอียดซับซ้อน…ทำพิธีโดยนักบวช ในการปฏิบัติตามกฎพื้นฐานของศาสนาของเรา มิตรสหายควรรักษามาตรฐานของความเรียบง่ายที่สุดเสมอ และยืดหยุ่นในเรื่องรายละเอียด
Lights of Guidance 1983, no.292 สภายุติธรรมสากล
การปรามมิให้ทำพิธีทางศาสนาให้เป็นพิธีที่ยุ่งยากซับซ้อน ก็เพื่อป้องกันแนวโน้มที่จะทำให้พิธีทางศาสนาเสื่อมถอยไปเป็นความงมงายและกลายเป็นต้นเหตุของการแตกสามัคคี ดังที่เกิดขึ้นกับศาสนาในอดีต ซึ่งพระอับดุลบาฮาทรงกล่าวไว้ว่า ??
ศาสนาทั้งปวงในปัจจุบันจมอยู่ในวิธีปฏิบัติที่งมงาย ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมที่แท้จริงของศาสนาและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ?ผู้นำศาสนาหลายคนเชื่อว่า ความสำคัญของศาสนาอยู่ที่การยึดถือความเชื่อดันทุรังและการประกอบพิธีกรรม บรรดาผู้ที่ผู้นำศาสนาให้การรักษาก็ถูกสอนให้เชื่อเช่นนี้ และยึดมั่นอยู่กับพิธีเหล่านี้ที่หาใช่แก่นแท้ของสัจธรรม ?ในเมื่อพิธีกรรมเหล่านี้แตกต่างกันในแต่ละโบสถ์แต่ละนิกายและบางแห่งถึงกับขัดกัน จึงก่อให้เกิดความร้าวฉาน ความเกลียดชัง และแตกสามัคคี
??????????????????????????????????????????????????????????????????????????Paris Talks p.143 พระอับดุลบาฮา
บาไฮศาสนิกชนจะทำกิจกรรมที่ศูนย์บาไฮหรือที่บ้านของคนใดคนหนึ่งหากในท้องถิ่นนั้นไม่มีศูนย์บาไฮ ซึ่งอาจจะมีพิธีที่เรียบง่ายหรือไม่มีพิธีและถือว่าเป็นโอกาสพบปะสังสรรค์กัน ตัวอย่างของพิธีบางอย่างในศาสนาบาไฮ เช่น
การสวดบทอธิษฐานบังคับประจำวัน กำหนดให้ชำระล้างมือและใบหน้าด้วยน้ำสะอาดก่อน ?จากนั้นยืนยกมือขึ้นทั้งสองข้างโดยหันหน้าไปยังพระสถูปของพระบาฮาอุลลาห์ที่เมืองอัคคา เป็นสัญลักษณ์ประหนึ่งพฤกษาหันเข้าหาแสงอาทิตย์ หรือพิธีฝังศพบาไฮก็กำหนดไว้เพียงให้สวดบทอธิษฐานสำหรับผู้ที่ล่วงลับไปโดยให้ยืนกันเป็นหมู่หน้าหลุมฝังศพและมีบาไฮคนหนึ่งเป็นคนสวดเท่านั้น ไม่มีข้อกำหนดหรือพิธีรีตองอื่นๆ ถึงแม้จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการตระเตรียมศพ หลุมศพ โลงศพ และการเคลื่อนย้ายศพอยู่บ้าง ?
สำหรับพิธีสมรสบาไฮมีเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า ให้มีพยานที่เชื่อถือได้สองคนที่เป็นที่ยอมรับของธรรมสภา ให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวปฏิญาณตนว่า?เราทุกคนจะยึดมั่นในพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า? ?และการสมรสนั้นต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย ส่วนรายละเอียดอื่นเปิดกว้างไว้เพื่อความยืดหยุ่นสำหรับแต่ละสังคมแต่ละวัฒนธรรม แต่ต้องไม่ทำสิ่งที่ขัดกับบทบัญญัติของศาสนา เช่น ไม่มีเลี้ยงสุราในพิธีสมรสบาไฮ การกำหนดให้การสมรสของบาไฮขึ้นกับความยินยอมของพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายนั้นเป็นเพราะพระบาฮาอุลลาห์ทรงถือว่า การสมรสของบาไฮมิใช่การสมัครสมานสามัคคีของชายหญิงที่จะสมรสกันเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการสมัครสมานสามัคคีของครอบครัวของทั้งสองฝ่ายด้วย
วันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาบาไฮ
นอกจากนี้บาไฮยังมีการพบปะชุมนุมกันในวันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาและมีการสวดมนต์ร่วมกันอย่างเรียบง่ายโดยไม่มีพิธีรีตองที่รุงรัง วันศักดิ์สิทธิ์ตามปฏิทินของศาสนาบาไฮ มี 11 วัน ซึ่งบาไฮจะมาชุมนุมเพื่อสวดมนต์ร่วมกัน แต่เฉพาะ 9 วันแรกเท่านั้นที่บาไฮศาสนิก ชนควรหยุดงานถ้าเป็นไปได้
- วันที่ 21 มีนาคม ??????วันนอร์รูซ (ปีใหม่)
- วันที่ 21 เมษายน ?????วันที่พระบาฮาอุลลาห์เสด็จมายังสวนเรซวาน ค.ศ.1863
- วันที่ 29 เมษายน ?????วันที่ครอบครัวของพระบาฮาอุลลาห์ตามพระองค์มายังสวนเรซวาน ค.ศ. 1863
- วันที่ ?2 พฤษภาคม ???วันที่พระบาฮาอุลลาห์เสด็จออกจากสวนเรซวาน ค.ศ. 1863
- วันที่ 23 พฤษภาคม ??วันประกาศศาสนาของพระบ๊อบ ในปี ค.ศ. 1844
- วันที่ 29 พฤษภาคม ??วันเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระบาฮาอุลลาห์ ในปี ค.ศ. 1892
- วันที่ ?9 กรกฎาคม ????วันที่พระบ๊อบถูกประหารชีวิต ในปี ค.ศ. 1850
- วันที่ 20 ตุลาคม ???????วันประสูติของพระบ๊อบ ในปี ค.ศ. 1819
- วันที่ 12 พฤศจิกายน ?วันประสูติของพระบาฮาอุลลาห์ ในปี ค.ศ. 1817
- วันที่ 26 พฤศจิกายน ??วันแห่งพระปฏิญญา อนุญาตให้บาไฮทำงานได้
- วันที่ 28 พฤศจิกายน ?วันเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระอับดุลบาฮา ค.ศ. 1921 อนุญาตให้บาไฮทำงานได้
เทศกาลเรซวาน
เทศกาลริสวันอยู่ระหว่างวันที่ 21 เมษายน ? 2 พฤษภาคม คือช่วงเวลาที่ครอบคลุมวันศักดิ์สิทธิ์สามวัน ?เป็นช่วงเวลาที่พระบาฮาอุลลาห์เสด็จมาพำนักอยู่ในอุทยานริสวันเพื่อประกาศฐานะและศาสนาของพระองค์ในแบกแดดปี ค.ศ. 1863 นอกจากจะเป็นโอกาสสำหรับบาไฮมาชุมนุมสวดมนต์ร่วมกันในวันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามวันนี้แล้ว เทศกาลริสวันนี้ซึ่งถือเป็นเทศกาลที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของบาไฮ ยังมีจุดประสงค์ทางด้านบริหารสำหรับระบบโลกใหม่ของพระบาฮาอุลลาห์ด้วย เพราะเป็นช่วงเวลาสำหรับการเลือกตั้งธรรมสภาท้องถิ่น ธรรมสภาแห่งชาติ และสภายุติธรรมสากล
บทอธิษฐานของศาสนาบาไฮ ?????
พระบ๊อบ พระบาฮาอุลลาห์และพระอับดุลบาฮา ทรงลิขิตบทอธิษฐานไว้มากมายสำหรับสวดในโอกาสต่างๆ เป็นการส่วนตัวและสวดเวลาอยู่กับผู้อื่น ในการชุมนุมกันในโอกาสต่างๆ เหล่านี้ บาไฮจะมีการสวดมนต์เสมอและจะเลือกสวดบทอธิษฐานที่เหมาะสมกับโอกาส ซึ่งถือเป็นความพิเศษอีกอย่างหนึ่งสำหรับยุคศาสนาใหม่นี้ที่มีบทอธิษฐานที่พระศาสดาลิขิตไว้ให้สวด โดยที่ศาสนิกชนไม่ต้องคิดและเขียนบทสวดมนต์ขึ้นมากันเอง